วิสัยทัศน์

"ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี  สืบสานวัฒนธรรมประเพณี 
จัดให้มีสาธารณูปโภคสาธารณูปการอย่างครบถ้วน การจัดทำบริการล้วนมีประสิทธิภาพ”

พันธกิจ 5 ด้าน

๑. ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน
๒. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
๓. ด้านการพัฒนาสังคม
๔. ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยว
๕. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร

นโยบายตามพันธกิจ 5 ด้านกำหนดไว้ ดังนี้

๑. ด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน 

(๑) พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน ให้สมบูรณ์มีคุณภาพโดยเน้นโครงข่ายการคมนาคมการก่อสร้างถนนให้เป็นถนนคอนกรีต หรือถนนลาดยาง พร้อมระบบรางระบายน้ำให้ครอบคลุมทั่วทั้งเขตเทศบาล รวมทั้งติดตั้งขยายเขตไฟฟ้า และน้ำประปาให้ทั่วถึงทุกชุมชน
(๒) จัดทำข้อมูลขึ้นทะเบียนระบบการสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาลด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

๒. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

(๑) ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรของประชาชน ในหลากหลายรูปแบบ วิธีการ โดยยึดหลักตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
(๒) ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพของชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มมูลค่าสินค้าให้แก่ชุมชน และส่งเสริมให้มีตลาดนัดสินค้าชุมชนทางการเกษตรหรือสินค้าโอท็อป (OTOP) ของเทศบาล เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายผลผลิต
(๓) พัฒนาตลาดสดของเทศบาลให้มีมาตรฐาน และขยายพื้นที่สำหรับการค้าขายเพิ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมอาชีพการค้าขายของประชาชนให้มีโอกาสมากขึ้น
(๔) ส่งเสริมและพัฒนาการฝึกอบรมความรู้ทางวิชาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีความสามารถในการประกอบอาชีพเป็นของตนเอง
(๕) สนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน หรือสนับสนุนแหล่งเงินทุนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการผลิตสินค้าเพื่อการจำหน่าย

๓. ด้านการพัฒนาสังคม

๓.๑ การสาธารณสุขและสุขอนามัย

(๑) ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโรงน้ำดื่มสะอาด และมีมาตรฐานเพื่อบริการชุมชนฟรี
(๒) พัฒนาปรับปรุงสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ ปลา ในตลาดสดเทศบาล ให้เป็นสัดส่วนและถูกสุขอนามัย
(๓) การให้ความรู้และบริการประชาชนในการป้องกันโรคและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในงานสาธารณสุขมูลฐานและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
(๔) การจัดลานออกกำลังกายโดยจัดหาเครื่องอุปกรณ์ออกกำลังกายกลางแจ้ง ให้ประชาชนได้ออกกำลังกายใกล้ชุมชน เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของคนในชุมชน
(๕) ส่งเสริมและพัฒนาการก่อสร้างสนามกีฬาที่มีมาตรฐานทุกประเภท
(๖) ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการออกกำลังกายประกอบจังหวะ

๓.๒ การศึกษา

(๑) สนับสนุนทุนนักเรียนดี แต่ยากจนเพื่อเสริมสร้างเด็กเยาวชนในเขตเทศบาลให้มีโอกาสทางการการศึกษาที่สูงขึ้น
(๒) สนับสนุนจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนโดยเน้นให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีโอกาสในการเข้าถึงคุณภาพการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน
(๓) ส่งเสริมพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
(๔) สนับสนุนระบบอินเตอร์เน็ต หรือระบบไวไฟ (WIFI) เพื่อการศึกษาและการค้นหาความรู้ให้แก่ประชาชน

๓.๓ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

(๑) ส่งเสริมพัฒนาบทบาทสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการให้เข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม
(๒) สนับสนุนกิจกรรมของ อสม. อปพร. ให้มีความเข้มแข็ง
(๓) ส่งเสริมพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน ให้มีศักยภาพเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

๓.๔ การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(๑) ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(๒) สนับสนุนกิจการของตำรวจชุมชนเพื่อให้สามารถเข้าป้องกันภัย หรือระงับเหตุร้าย ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

๓.๕ การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น

(๑) สนับสนุนให้คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีท้องถิ่น และส่งเสริมงานประเพณีให้มีความยิ่งใหญ่ โดดเด่น ให้เป็นเอกลักษณ์ของหนองวัวซอ
(๒) ส่งเสริมสนับสนุนศิลปะวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น โดยการจัดให้มีการแสดงหรือร่วมทำการแข่งขัน

๔. ด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยว

(๑) จัดการบริหารน้ำเสียไม่ให้ลงสู่หนองสาธารณะหนองวัวซอ
(๒) ปรับปรุงในด้านความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของ บ้านเมืองโดยเน้นในเรื่องของการแยกขยะ และการจัดเก็บขยะมูลฝอยให้เป็นระบบอย่างทั่วถึง
(๓) ปรับปรุงภูมิทัศน์หนองสาธารณะหนองวัวซอให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นขยายไฟฟ้าแรงต่ำและไฟฟ้าสาธารณะให้รอบหนองสาธารณะหนองวัวซอ
(๔) สร้างจุดรวมการให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ภายในเขตอำเภอหนองวัวซอ แก่นักท่องเที่ยวต่างถิ่น เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนจากจุดรวมแหล่งท่องเที่ยวได้อีกช่องทางหนึ่ง

๕. ด้านการพัฒนาการเมืองและการบริหาร

(1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำงบประมาณเพื่อการพัฒนา โดยการมีส่วนร่วมในการประชุมปรึกษาหารือรวมถึงการเสนอข้อคิดเห็นกับเทศบาลได้อย่างเสรี รวมทั้งการเปิดโอกาสรับฟังปัญหาของประชาชนตลอด ๒๔ ชั่วโมง
(2) ปฏิรูประบบการทำงานภายในองค์กรโดยเน้นการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการทำงาน และการให้บริการตลอดจนดำเนินการรักษามาตรฐาน ระยะเวลาการให้บริการ เพื่อสนองความต้องการของประชาชน และมีมาตรฐานการดำเนินการที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
(3) ปรับปรุงสถานที่การปฏิบัติงาน หรืออาจจัดหาสถานที่ปฏิบัติงานแห่งใหม่เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอในการปฏิบัติงานและสามารถให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

กลับไปหน้าแรก

 

Pin It