มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ว่าด้วยการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและปรับปรุงงานด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การอาชีวอนามัย การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ การพัฒนาพฤติกรรมอนามัย การสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดให้บริการเผยแพร่ความรู้ทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การควบคุมสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค จัดบริการรักษาความสะอาด การจัดการขยะมูลฝอย งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม งานรักษาความสะอาด

 

โครงสร้างการบริหารงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๒ ฝ่าย ๖ กลุ่มงาน ดังนี้

๑. ฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข

๑.๑ งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม
๑.๒ งานรักษาความสะอาด
๑.๓ งานบริหารงานทั่วไป

๒. ฝ่ายบริการสาธารณสุข

๑.๑ งานส่งเสริมสุขภาพ
๑.๒ งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
๑.๓ งานการเงินและบัญชี

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข แบ่งออกเป็น ๓ งาน คือ

๑. งานสุขาภิบาลอนามัยสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) การส่งเสริมพัฒนาการสุขาภิบาลและการออกใบอนุญาตสถานประกอบการและกิจการต่างๆในเขตเทศบาล
(๒) กำกับดูแลการควบคุมการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓) กำกับดูแลงานควบคุมป้องกันการอนามัยที่เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมอันจะมีผลหรืออาจจะมีผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน
(๔) กำกับดูแลงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบการ
(๕) กำกับดูแลการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ
(๖) กำกับดูแลงานสุสานและฌาปนสถาน
(๗) กำกับดูแลงานการคุ้มครองผู้บริโภค
(๘) การควบคุมสัตว์เลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
(๙) งานวางแผน กำหนดนโยบาย จัดระบบงานและการพัฒนาบุคลากรฝ่ายบริหารงาน
(๑๐) กำกับดูแลงานพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๑๑) กำกับดูแลแก้ไขการร้องทุกข์เกี่ยวกับเหตุเดือดร้อนรำคาญ
(๑๒) งานข้อมูลข่าวสาร จัดทำสนับสนุนระเบียบและรายงานให้หน่วยต่างๆที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) กำกับดูแลงานสุขาภิบาลอาหาร
(๑๔) รับคำร้องใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๕) จัดทำใบเสร็จใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๖) จัดทำแบบรายงานใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งตามพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ.2535, พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๗) การบันทึกข้อมูลแบบรายงาน ผถ.3/ ผถ.4/ ผถ.5 (ที่งานจัดเก็บรายได้)
(๑๘) การบันทึกข้อมูลแบบรายงาน ผถ.11

๒. งานรักษาความสะอาด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) งานรักษาความสะอาดถนน ทางเท้า และที่สาธารณะ
(๒) งานรักษาความสะอาดตลาดสด
(๓) งานรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(๔) การจ้างเหมาเอกชนในการรักษาความสะอาดถนนและตลาด
(๕) งานวางแผนและพัฒนาระบบจัดเก็บขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๖) งานพัฒนาเครือข่ายและสร้างความร่วมมือจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๗) การดูแลและควบคุมการเก็บชนสิ่งปฏิกูล
(๘) การสร้างจิตสำนึกประชาชนในการลดการสร้างขยะ
(๙) การจัดการขยะมูลฝอย และการคัดแยกกลับมาใช้ประโยชน์
(๑๐) การจัดการขยะอันตราย
(๑๑) การจัดการขยะติดเชื้อ
(๑๒) งานเก็บ รวบรวม ขนส่งขยะมูลฝอยไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล
(๑๓) งานกำจัดสิ่งปฏิกูลตามหลักสุขาภิบาล
(๑๔) งานกำจัดขยะมูลฝอยและควบคุมสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย
(๑๕) กำกับดูแลการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล เครื่องยนต์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
(๑๖) การกำหนดมาตรการ การประเมินอัตราค่าธรรมเนียมในการจัดเก็บขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล

๓. งานบริหารงานทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) งานสารบรรณ งานร่างหนังสือโต้ตอบ ตรวจสอบเอกสาร และหนังสือราชการที่ทางส่วน ราชการต่างๆ ประสานงานมา และอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ
(๒) งานดูแลรักษา จัดเตรียมและให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ การติดต่อและอำนวย ความสะดวกในด้านต่างๆ
(๓) งานจัดทำคำสั่งและประกาศ
(๔) งานขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญจักรพรรดิมาลาและผู้ทำคุณประโยชน์
(๕) งานตรวจสอบและแสดงรายการเกี่ยวกับเอกสารสำคัญของทางราชการ
(๖) ศึกษา วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล สถิติ สรุปรายงาน เพื่อสนับสนุนการบริหารในด้านต่างๆ เช่น งานบริหารทรัพยากรบุคคล งานบริหารงบประมาณ งานบริหารแผนปฏิบัติราชการ เป็นต้น
(๗) งานรับเรื่องราวร้องทุกข์และร้องเรียนของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๘) งานประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับรายได้และแนะนำอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
(๙) งานสาธารณกุศลของเทศบาลและหน่วยงานต่างๆที่ขอความร่วมมือ
(๑๐) งานสวัสดิการพนักงานเทศบาล และพนักงานจ้างของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๑๑) งานรวบรวมข้อมูล สถิติ และสรุปรายงานต่างๆของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๑๒) งานประสานงานเกี่ยวกับการประชุมสภาเทศบาล คณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาลและ การส่งญัตติของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม แจ้งส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมสภา
(๑๓) งานจัดเตรียมสถานที่ประชุมของหน่วยงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม พร้อม บันทึกการประชุมเสนอผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับ
(๑๔) งานการลาพักผ่อนประจำปีและการลาอื่นๆ
(๑๕) งานสารบรรณ และงานธุรการของกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลเมืองศิลา
(๑๖) ดูแลงานโครงการพระราชดำริของเทศบาล

อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริการสาธารณสุข แบ่งออกเป็น 3 งาน คือ

๑. งานส่งเสริมสุขภาพ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) กำกับดูแลงานด้านสุขศึกษา
(๒) กำกับดูแลงานอนามัยโรงเรียน
(๓) กำกับดูแลงานอนามัยแม่และเด็ก
(๔) กำกับดูแลงานวางแผนครอบครัว
(๕) กำกับดูแลงานสาธารณสุขมูลฐาน
(๖) กำกับดูแลงานโภชนาการ
(๗) กำกับดูแลงานตรวจสุขภาพและคัดกรองโรคในชุมชน
(๘) กำกับดูแลงานปฐมพยาบาลเบื้องต้น
(๙) กำกับดูแลงานส่งเสริมสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, โรงเรียน และวัด
(๑๐) กำกับดูแลงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
(๑๑) กำกับดูแลงานสุขภาพจิต
(๑๒) การจัดทำมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในของฝ่ายบริการ สาธารณสุข
(๑๓) งานนิเทศและติดตามผลงานทางด้านสาธารณสุข
(๑๔) งานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
(๑๕) จัดเตรียมความพร้อมใช้ของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้สำหรับปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินและอุปกรณ์การแพทย์รวมทั้งเวชภัณฑ์ในการให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
(๑๖) ช่วยเหลือทีมงานแพทย์และพยาบาลในการช่วยฟื้นคืนชีพผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต รวมทั้งการเคลื่อนย้ายและปฐมพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุอย่างถูกวิธี ให้การดูแลขณะนำส่ง และส่งมอบผู้ป่วย ณ สถานพยาบาล ตามการประสานงานกับศูนย์รับแจ้งเหตุ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ ถูกต้องเหมาะสมปลอดภัยตามมาตรฐาน
(๑๗) ให้บริการรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร ประสานกับเครือข่ายประจำศูนย์รับแจ้งเหตุตลอดเวลา ให้บริการทันสถานการณ์และเวลา
(๑๘) งานส่งเสริมการออกกำลังกายและสร้างสุขภาพ
(๑๙) วางแผนควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริการสาธารณสุข ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบแบบแผนและนโยบายของคณะผู้บริหาร
(๒๐) งานวิซาการและแผนงาน
(๒๑) งานตรวจสุขภาพประจำปีของคณะผู้บริหาร พนักงานเทศบาล และพนักงานจ้างของเทศบาล
(๒๒) ให้คำแนะนำแก่ญาติหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของส่วนของร่างกายที่เสื่อมสภาพหรือพิการให้กลับคืนดีทั้งทางรูปและทางหน้าที่
(๒๓) ปฏิบัติการด้านกายภาพบำบัดขั้นสูงตามมาตรฐานวิชาชีพในการรักษาและให้บริการทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ใช้บริการ เพื่อให้ได้รับการดูแลทางกายภาพบำบัดที่ถูกต้องเหมาะสม
(๒๔) คัดกรอง ประเมินทางกายภาพบำบัดที่ซับซ้อน ให้การรักษาและการบริการทางกายภาพบำบัด
(๒๕) บันทึก รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ ด้านกายภาพบำบัด เพื่อพัฒนาการรักษาและการ บริการผู้ป่วยให้มีคุณภาพตอบสนองวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการรักษาและการบริการทาง กายภาพบำบัด
(๒๖) ส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา ฟื้นฟูสุขภาพประชาชน หรือการบริการอื่นๆทางด้านกายภาพบำบัด เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
(๒๗) ประสานการทำงานร่วมกันโดยมีบทบาทในการให้ความเห็นและคำแนะนำเบื้องต้นแก่ สมาชิกในทีมงานหรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(๒๘) ให้ข้อคิดเห็นหรือคำแนะนำเบื้องต้นแก่สมาชิกในทีมงานหรือบุคคลหรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(๒๙) ให้บริการวิชาการด้านกายภาพบำบัดที่ซับซ้อน ที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพของผู้ใช้บริการและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน เพื่อให้ผู้ใช้บริการมีความรู้สามารถดูแลตนเองได้
(๓๐) สอน นิเทศ ฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือบุคคลภายนอก เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓๑) พัฒนาข้อมูล จัดทำเอกสาร สื่อเอสารเผยแพร่ เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(๓๒) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการด้าน กายภาพบำบัด เพื่อพัฒนาการรักษาสุขภาพที่ดีของประชาชน

๒. งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) งานวางแผน ค้นคว้า วิเคราะห์ด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
(๒) กำกับดูแลงานป้องกันและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคในโรงเรียนและชุมชน
(๓) กำกับดูแลงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
(๔) กำกับดูแลงานควบคุมแมลงและพาหนะนำโรค
(๕) การเฝ้าระวังและสอบสวนทางระบาดวิทยา
(๖) กำกับดูแลงานการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
(๗) การสอบสวนและควบคุมโรคติดต่อ
(๘) กำกับดูแลงานการชันสูตรสาธารณสุข
(๙) กำกับดูแลงานรายงานข้อมูลสถิติและการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานด้านสัตวแพทย์
(๑๐) งานควบคุมและป้องกันสารเสพติด

๓. งานการเงินและบัญชี มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

(๑) งานจัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ และควบคุมตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไป ตามแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
(๒) งานควบคุมตรวจสอบการจัดทำงบประมาณรายรับ-รายจ่าย ประจำเดือนและ งบประมาณสิ้นปี และรายงานอื่นๆ
(๓) ดูแล ควบคุม และตรวจสอบการเบิกจ่ายเงิน การจัดเก็บข้อมูล รวบรวมสถิติเอกสาร สำคัญ และรายงานทางการเงินและบัญชีต่างๆ
(๔) ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหลักฐานและเอกสารทางการเงิน ใบเสร็จรับเงิน และใบนำส่งเงิน ประจำวัน
(๕) งานบันทึกการออกใบเสร็จรับเงิน ค่าธรรมเนียม คำปรับ และใบอนุญาตต่างๆ และ จัดทำใบนำส่งเงินในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (e-laas)
(๖) งานจัดทำและควบคุมตรวจสอบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของกองสาธารณสุขฯ
(๗) งานควบคุมตรวจสอบการจัดทำทะเบียนพัสดุ ครุภัณฑ์
(๘) งานพัสดุ งานตรวจสอบพัสดุประจำปี
(๙) งานควบคุมตรวจสอบการจำหน่ายพัสดุ/การลงจ่ายออกจากบัญชี
(๑๐) งานจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมเก็บและขนขยะมูลฝอย ค่าธรรมเนียมค่าปรับ ค่า ใบอนุญาตต่างๆ ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๑๑) งานควบคุมตรวจสอบการซ่อมและบำรุงรักษา
(๑๒) งานจัดทำคำสั่ง และประกาศเกี่ยวกับพัสดุของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
(๑๓) งานจัดทำรายงาน การจัดเก็บ เงินรายได้ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และใบอนุญาตต่างๆ
(๑๔) ควบคุม ดูแลและตรวจสอบงานสวัสดิการต่างๆพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างของ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

 

กลับไปหน้าแรก

 

Pin It