เดิมนั้น มีการอพยพมาย้ายถิ่นฐานของผู้คนบางกลุ่มจากอำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่นมาตั้งรกรากอยู่ที่บริเวณริมหนองน้ำ "หนองวัวซอ" ในปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงมีผู้คนจากอีกหลายๆจังหวัดในภาคอีสาน อาทิเช่น จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่เพิ่มจากเดิมในช่วงแรก ทำให้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตำบลหนองวัวซออยู่ในการปกครองของอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ในเบื้องต้น เมื่อปี พ.ศ. 2518 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศให้เป็นสุขาภิบาลตำบลหนองวัวซอ ต่อมาจึงได้ประกาศยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบลหนองวัวซอเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ลักษณะภูมิประเทศภูมิประเทศส่วนใหญ่ของตำบลหนองวัวซอเป็นพื้นที่ภูเขา บางส่วนมีสลักษณะสูงต่ำเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นหรือลอนลึกมีที่ดอนสลับที่นา ในขณะที่บางส่วนเป็นเนินเขาเตี้ย มีป่าไม้ขึ้นอยู่กระจายและมีหินโผล่เป็นบริเวณกว้าง มีความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร บริเวณพื้นที่ราบนิยมใช้ทำเป็นไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย สวนผลไม้ และสวนยางพารา 

ลักษณะภูมิอากาศฤดูกาลของตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี พิจารณาตามลักษณะของลมฟ้าอากาศของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้ ฤดูหนาว เริ่มต้นฤดูประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้ง อาจมีอากาศหนาวจัดเป็นบางวัน เดือนที่มีอากาศหนาวมากที่สุดอยูใ่นช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของหย่อมความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวฤดูร้อน เริ่มต้นฤดูประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงว่างเว้นของลมมรสุม มีลมจากทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ส่งผลให้มีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวที่สุดของปีฤดูฝน เริ่มต้นฤดูประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความชื้นจากทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียมาปกคลุมประเทศไทย กอปรกับในช่วงเวลาดังกล่าวมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่านภาคใต้ของประเทศไทย ได้เลื่อนขึ้นมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉี ยงเหนือของประเทศไทย ทำให้อากาศชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมของทุกปีเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุดในรอบปี อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยดังกล่าวที่ทำให้มีฝนตกชุกแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย

การเมืองการปกครองเขตปกครอง เทศบาลตำบลหนองวัวซอ มีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองวัวซอและตำบลหมากหญ้าบางส่วน แบ่งเขตปกครองเป็น 12 หมู่บ้าน ดังนี้

1. ตำบลหนองวัวซอ จำนวน 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 บ้านหนองวัวซอ (กำนัน นายจงรักษ์  สุวรรณพรหม โทร. 082-7443970)
หมู่ 2 บ้านหนองวัวซอ (ผู้ใหญ่บ้าน นายธวัชชัย  แก่ท้าว โทร. 080-0111614)
หมู่ 3 บ้านหนองแวงยาวเหนือ (ผู้ใหญ่บ้าน นายวันพิชิต  บุญมา โทร. 095-9959582)
หมู่ 4 บ้านโคกก่อง (ผู้ใหญ่บ้าน นายสมัย  มุงคุณคำซาว โทร. 
หมู่ 5 บ้านไร่สวรรค์ (ผู้ใหญ่บ้าน นายเหลาทอง  ธนเฮือง โทร. 087-8605152)
หมู่ 6 บ้านหนองวัวซอกลาง (ผู้ใหญ่บ้าน นายสมศักดิ์  ดำนอก โทร. 085-7533046)
หมู่ 7 บ้านหนองวัวซอใต้ (ผู้ใหญ่บ้าน นายสมจิตร  สารักษ์ โทร. 063-6261667)
หมู่ 8 บ้านหนองแวงยาวใต้ (ผู้ใหญ่บ้าน นายอภิสิทธิ์  ชมสะนัด โทร. 

2. ตาบลหมากหญ้า จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 3 บ้านโนนสว่าง (ผู้ใหญ่บ้าน นายประยุทธ  โสรส โทร. 061-6910232)
หมู่ 4 บ้านโนนสว่าง (ผู้ใหญ่บ้าน นายนัธพงษ์  ประทุมลัย โทร. 081-2632258)
หมู่ 7 บ้านโนนสมบูรณ์ (ผู้ใหญ่บ้าน นายจันดี  สุขสวาท โทร. 095-1851977)
หมู่ 9 บ้านโนนสว่าง (ผู้ใหญ่บ้าน นางสมศรี  ศรีฮาตร โทร. 085-0081624)

เขตเลือกตั้ง เทศบาลตำบลหนองวัวซอ แบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น 2 เขต ประกอบด้วย เขตเลือกตั้งที่ 1 และ เขตเลือกตั้งที่ 2 

ลักษณะของดิน ตำบลหนองวัวซอมีกลุ่มดินอยู่ 2 ชุด คือ ดินชุดร้อยเอ็ด และดินชุดโคราช โดยที่ ดินโคราช มีลักษณะเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย มีสีน้ำตาลเข้มปนเทา มีการระบายน้ำได้ปานกลางถึงดี ดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนดินเหนียวและปนทราย ค่าพีเอส 5-6 ปริมาณอินทรียวัตถุต่ำฟอสฟอรัสต่ำ โปแตสเซียมปานกลางถึงต่ำดินร้อยเอ็ด ลักษณะดินร่วนปนทรายสีน้ำตาลเข้ม ชั้นล่างเป็นดินร่วนเหนี ยวปนทรายดินเหนียว หน้าดินลึกมาก การระบานน้ำเลวค่าพีเอส 5-5.5 อินทรียวัตถุต่ำถึงปานกลาง มีโปแตสเซียมสูง

ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรน้ำ หนองน้ำสาธารณะ"หนองวัวซอ"ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่เป็นทรัพยากรน้ำที่สำคัญของตำบล เพราะหนองน้ำแห่งนี้ถูกใช้เป็นแหล่งน้ำดิบสำคัญในการผลิตน้ำประปาเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน รวมถึงใช้เพื่อการอื่นๆ เช่น ในการเกษตร เนื่องจากราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ทั้งการทำนา ทำไร่ ทำสวน ซึ่งล้วนต้องการใช้น้ำทั้งสิ้นอย่างไรก็ตาม น้ำส่วนใหญ่ในหนองได้จากน้ำฝนในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ไม่มีน้ำจากเขื่อนหรือคลองชลประทานเข้ามาเติม ลำห้วยหลวง ซึ่งเป็นลำน้ำขนาดย่อมที่ไหลผ่านพื้นที่ตำบลหนองวัวซอ แ มีราษฎรเพียงส่วนน้อยที่ได้ประโยชน์จากแหล่งน้ำนอกฤดูฝนสายนี้ ทรัพยากรป่าไม้ ในเขตพื้นที่ตำบลหนองวัวซอ ไม่มีพื้นที่ป่าไม้ ภูเขา ในเขตพื้นที่ตำบลหนองวัวซอ ไม่มีพื้นที่ภูเขา

 

ฐานข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทศบาลตำบลหนองวัวซอ (รายละเอียดเพิ่มเติม)

 ด้านการเกษตร (หมอดิน)

นายโอภาส   ไชโย
ที่อยู่  152  หมู่ที่  8 ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสามารถ  ด้านการเกษตร (หมอดิน)
      เจ้าของเรื่อง : นายโอภาส  ไชโย เป็นผู้มีความสามารถเรียนรู้การใช้ที่ดิน ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ดิน  ที่ลุ่มใช้ในการปลูกข้าว จะทำนาปีละประมาณ 2 ครั้ง การปลูกพืช เพราะจะได้มีโอกาสพักดินและปรับปรุง บำรุงดิน โดยการหลังเก็บเกี่ยวข้าวจะหมักฟางข้าวไว้ในนาโดยการปล่อยน้ำเข้านาพร้อมกับ กับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ราดและฉีดพ่น และฟางข้าวให้จมดิน ไถทำเทือกหว่านข้าว การทำนาดำ  ผลผลิตข้าวที่ได้แต่ละฤดูกาล

ด้านหัตถกรรม

 

นางจันสอน  ดีเลิศ 
ที่อยู่ 94  หมู่ที่  4 ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสามารถ  ในการจักสาน ไม้กวาดดอกหญ้า+สานกะตีบข้าวจักสานและโอท็อปอื้นๆ
     เจ้าของเรื่อง : นางจันสอน  ดีเลิศ เป้นผู้มีความสามารถในงานจักสานไม้กวาดดอกหญ้า+สานกะตีบข้าว  เพราะเครื่องจักสานไทย เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่มีคุณค่ายิ่งอย่างหนึ่งของไทย ที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณ  คุณลักษณะ พิเศษของเครื่องจักสานที่มีคุณค่าในตัวเอง  ทำให้เครื่องจักสานมีอายุ ยืนยาวสืบต่อกันมานานนับพันปี แม้ในปัจจุบัน    การทำเครื่องจักสานจะลดจำนวนลงไปบ้าง ตามสภาพสังคมวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรม   แต่เครื่องจักสานยังเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ด้วยเครื่องจักรกล เพราะการทำเครื่องจักสาน ต้องใช้ความชำนาญ และความสามารถเฉพาะตัวของช่างพื้นบ้านแต่ละถิ่น สิ่งเหล่านี้เป็นคุณค่าพิเศษของเครื่องจักสานที่ต่างไปจากผลิตภัณฑ์อื่นที่ผลิตด้วยเครื่องจักร เครื่องจักสานจึงเป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้

 

ด้านการแพทย์แผนไทย

 

นายปรีชา    วรรณดา 
ที่อยู่  117  หมู่ที่  6  ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี 
ความสามารถ  ด้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคด้านการปรุงยาสมุนไพร     
     เจ้าของเรื่อง : นายปรีชา  วรรณดา เป็นผู้มีความสามารถการใช้สมุนไพรรักษาโรคด้านการปรุงยาสมุนไพร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืชเราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น  พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้นพืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้

  1.  รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
  2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
  3.  กลิ่น ให้รู้ว่ามีกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
  4.  รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
  5.  ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร

นางวราภรณ์   ไชกว้าง 
ที่อยู่ 118  หมู่ที่ 3  ตำบลหนองวัวซอ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสามารถ  ด้านการใช้สมุนไพร (ลูกประคบ)    
       เจ้าของเรื่อง : นางวราภรณ์   ไชกว้าง เป็นผู้มีความสามารถลูกประคบสมุนไพร  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการตำพอแตก ใช้สดหรือทำให้แห้ง นำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่าง ๆ เช่น ทรงกลม หมอนสำหรับใช้นาบหรือกดประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้งแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำแล้วทำให้ร้อนโดยนึ่งลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพร   ลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดรวมกัน กรณีทำเป็นรูปทรงกลมปลายผ้าต้องรวมแล้วมัดให้แน่น ทำเป็นด้ามจับ ต้องมีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพร นำขมิ้นชัน หัวไพล ตะไคร้ มะกรูดมาล้างให้สะอาดตากให้แห้งจนสะเด็ดน้ำ มะกรูดนำมาฝานเอาเฉพาะผิว นำทั้งหมดมาหั่น เสร็จแล้วใส่ในครกตำหยาบ ๆ นำไปตากแดดให้แห้ง ใบมะขามก็ตากแดดให้แห้งด้วยนำสมุนไพรที่ตากแดดแห้งแล้วมาผสมกับเกลือ การบูรและพิมเสนมาผสมคลุกรวมกันในกะละมังจนกระทั่งเป็นเนื้อเดียวกัน

ด้านทอผ้าพื้นบ้าน

นางลำดวน  ภักดีกูล
ที่อยู่  37 หมู่ที่ 3 ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสามารถ ด้านทอผ้าพื้นบ้าน    
      เจ้าของเรื่อง : นางลำดวน ภักดีกูล เป็นผู้มีความสามารถทอผ้าพื้นบ้าน ภาคอีสานมีชุมชนตั้งถิ่นฐานโดยอาศัยบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์จากลำห้วย หนองบึง หรือแม่น้ำ กลุ่มคนไทยเชื้อสายลาวเป็นชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน กระจายกันอยู่ตามจังหวัดต่างๆ และมีวัฒนธรรมการทอผ้า อันเป็นประเพณีของผู้หญิง ที่สืบทอดกันมาช้านานเกือบทุกชุมชน แต่ละกลุ่มแต่ละเผ่า ก็จะมีลักษณะและลวดลายการทอผ้า ที่แปลกเป็น ของตัวเองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผ้ามัดหมี่ ผ้าขิต เป็นเทคนิคการมัดเส้น พุ่ง หรือเส้นยืน ให้เป็นลวดลายด้วยเชือกกล้วย หรือเชือกฟาง ก่อนนำไปย้อมสี แล้วกรอด้ายให้เรียงตามลวดลาย ร้อยใส่เชือก แล้วนำมาทอ จะได้ลายมัดหมี่ที่เป็นทางกว้างของผ้า เรียกว่า มัดหมี่ เส้นพุ่ง ซึ่งเป็นที่นิยมในบ้านเรา มีการทำผ้ามัดหมี่เส้นยืนบ้าง ส่วนใหญ่เป็นผ้า ชาวเขา บางผืนใช้การทอสลับกับลายขิต ซึ่งช่วย เพิ่มความวิจิตรงดงามให้แก่ผืนผ้าเป็นภูมิปัญญาที่ควรสืบทอดไว้

ด้านอื่นๆ

 

 นางสุมาลี  มานะพิมพ์   
ที่อยู่   ม.8  ต.หนองวัวซอ อ. หนองวัวซอ จ. อุดรธานี
ความสามารถ  ด้านหมอลำพื้นเมือง     
     เจ้าของเรื่อง : นางสุมาลี  มานะพิมพ์  เป็นผู้มีความสามารถหมอลำกลอน เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่อันหนึ่งของอีสานลักษณะเป็นการลำ ที่มีหมอลำชายหญิงสองคนลำสลับกันมีเครื่องดนตรีประกอบเพียงชนิดเดียว คือแคนการลำมีทั้งลำเรื่องนิทานโบราณคดีอีสาน เรียกว่า ลำเรื่องต่อกลอนลำทวย (ทายโจทย์) ปัญหา ซึ่งผู้ลำจะต้องมีปฏิภาณไหวพริบที่ดีสามารถตอบโต้ ยกเหตุผลมาหักล้างฝ่ายตรงข้ามได้ ต่อมามีการเพิ่มผู้ลำขึ้นอีกหนึ่งคนอาจเป็นชายหรือหญิงก็ได้ การลำจะเปลี่ยนเป็นเรื่อง ชิง รักหักสวาท ยาดชู้ยาดผัว เรียกว่า ลำชิงชู้ปัจจุบันกลอนนั้นหาดูได้ยากเพราะขาดความนิยมลงไปมากแต่ว่าปัจจุบัน ได้วิวัฒนการมาเป็นหมอลำซิ่งเพื่อความอยู่รอดและผลก็คือได้รับความนิยมใน ปัจจุบันเดิมทีสมัยโบราณในภาคอีสานเวลาค่ำเสร็จจากกิจธุรการงานมักจะมาจับกลุ่มพูดคุยกัน กับผู้เฒ่าผู้แก่เพื่อคุยปัญหาสารทุกข์สุกดิบและผู้เฒ่าผู้แก่นิยมเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง นิทานที่นำมาเล่าเกี่ยวกับจารีตประเพณีและศีลธรรม ทีแรกนั่งเล่าเมื่อลูกหลานมาฟังกัน มากจะนั่งเล่าไม่เหมาะ ต้องยืนขึ้นเล่า เรื่องที่นำมาเล่าต้องเป็นเรื่องที่มีในวรรณคดี

 

กลับไปหน้าแรก

 

Pin It